splab2023

ให้บริการตรวจเลือดเพื่อสุขภาพ และตรวจวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการแบบครบวงจร

ทั้งงาน Routine และงานด้าน Molecular ด้วยเครื่องมือที่ทันสมัย

ประสิทธิภาพสูง พร้อมทั้งการออกผลที่รวดเร็ว ถูกต้องและแม่นยํา

ซึ่งเปิดทำการตั้งแต่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2566 เป็นต้นมา

ห้องปฏิบัติการทางอณูชีววิทยา ได้ผ่านการรับรองตามมาตรฐานห้องปฏิบัติการ ISO 15189 : 2022 และ ISO 15190 : 2020
โดยสำนักมาตรฐานห้องปฏิบัติการ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข

ห้องปฏิบัติการเอสพีแล็บ คลินิกเทคนิคการแพทย์ ได้ผ่านการรับรองมาตรฐานห้องปฏิบัติการเครือข่ายตรวจ SARS-CoV-2
และการคัดกรองมะเร็งปากมดลูก ด้วยวิธี HPV DNA Testing โดยกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข

วิสัยทัศน์

เป็นหน่วยงานที่ให้บริการชั้นนำทางด้านเวชพันธุศาสตร์ เสริมสร้างสมรรถนะงานตรวจวิเคราะห์
ทางห้องปฏิบัติการ สู่ความเป็นเลิศด้านสาธารณสุข

พันธกิจ

เป็นผู้นำด้านห้องปฏิบัติการในการให้บริการทางอณูชีววิทยาอย่างครบวงจรที่ได้มาตรฐาน
โดยใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยและมีการพัฒนาคุณภาพอย่างต่อเนื่อง
นำไปสู่การสร้างขอบข่ายการให้บริการอย่างมีประสิทธิภาพและเป็นที่ไว้วางใจ

พันธมิตร

      ห้องปฏิบัติการเอสพีแล็บ คลินิกเทคนิคการแพทย์มีนโยบายประสานความร่วมมือกับห้องปฏิบัติการ
 ทั้งในและต่างประเทศที่ให้บริการด้านอณูชีววิทยา
เพื่อให้สร้างเครือข่ายการให้บริการอย่างครอบคลุมและพัฒนาการให้บริการสู่ระดับสากล

จะดีกว่าไหมถ้าเรารู้ก่อน?

รู้ก่อน เลือกทางเลือกการรักษา เพื่อชีวิตที่ยังยืน

ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าในยุคปัจจุบันที่ข่าวต่างนำเสนอการเป็นโรคต่าง ๆ นั้นจะมากขึ้นกว่าในอดีต ทั้งนี้เนื่องด้วยมลภาวะต่าง ๆ
ที่เป็นปัจจัยหนึ่งในการกระตุ้นสิ่งเหล่านั้น รวมถึงโรคทางพันธุกรรม จะดีกว่าไหมถ้าคุณทราบก่อน?

เอสพีแล็บ คลินิกเทคนิคการแพทย์

จะเป็นทางเลือกสำหรับคุณในการตรวจคัดกรองโรคมะเร็งปอด มะเร็งเต้านม มะเร็งลำไส้
มะเร็งผิวหนัง เชื้อไวรัสเอชพีวี ไข้หวัดใหญ่และโคโรนาไวรัส
ด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัยและมีความแม่นยำสูง

HPV DNA Testing
FluA FluB RSV PCR Testing
Covid-19 by RT-PCR
BRAF Mutation Test
KRAF Mutation Test
EGFR Mutation Test
BRCA1/2 Mutation Test

บริการตรวจยีนกลายพันธุ์ในกลุ่ม โรคมะเร็ง

BRCA1/2 Mutation Test

KRAS Mutation Test

BRAF Mutation Test

EGFR Mutation Test

ใครควรที่จะตรวจคัดกรองมะเร็ง?

สมาชิกครอบครัวมีประวัติป่วยเป็นมะเร็ง
ผู้ที่เคยได้รับเชื้อไวรัส/แบคทีเรีย
ผู้ที่รับสัมผัสสารเคมี บุหรี่
ผู้ที่สัมผัสรังสีเป็นประจำ

บริการตรวจโรคติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ

FluA FluB RSV PCR Testing

Covid – 19 by RT-PCR

เชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่และเชื้อไวรัสอาร์เอสวี

เป็นกลุ่มเชื้อไวรัสโรคติดต่อทางระบบทางเดินหายใจ

         Influenza Virus และ Respiratory Syncytial Virus เป็นกลุ่มเชื้อไวรัสโรคติดต่อทางระบบทางเดินหายใจ
พบได้บ่อยในเด็กเล็กที่มีอายุน้อยกว่า 5 ปี ซึ่งหากไม่ได้รับการตรวจสอบและรักษาอย่างเท่าทันอาจเกิดภาวะแทรกซ้อนของโรคอื่นๆได้แก่ โรคปอดอักเสบ และโรคสมองอักเสบ

อาการเมื่อติดเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่

มีไข้ขึ้นสูง
มีน้ำมูกใส
ไอแห้ง
ปวดศีรษะ
ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ

อาการเมื่อติดเชื้อไวรัสอาร์เอสวี

มีไข้ต่ำ
เจ็บคอ
หายใจเร็วลำบาก
คัดจมูก
ไอรุนแรงและหายใจมีเสียงหวีด

บริการตรวจความเสี่ยงโรคมะเร็งสำหรับสุภาพสตรี

HPV DNA Testing

BRCA1/2 Mutation Test

การตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก มีกี่วิธี ?

การตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกมีวิธีตรวจอยู่ 3 วิธี คือ

1. Pap Smear

เป็นการป้ายเซลล์บนสไลด์ มีโอกาสผิดพลาดจาก Human Error มากกว่าวิธีอื่น

2. Liquid Based Cytology

เป็นการเก็บเซลล์ในน้ำยาและทำการแยกสิ่งเจือปนที่ไม่จำเป็นออก
มีความแม่นยำมากกว่า Pap Smear

3. HPV DNA Testing

เป็นการตรวจหาเชื้อ HPV ระดับพันธุกรรมที่แฝงตัวอยู่ในร่างกาย มีโอกาสก่อให้เกิดมะเร็งปากมดลูก มีความแม่นยำสูง

ทำไมต้องตรวจคัดกรองเชื้อเอชพีวี?

รู้เท่าทันภัยมะเร็งปากมดลูก ด้วยการตรวจแบบเจาะลึก HPV DNA Testing

มะเร็งปากมดลูก

ส่วนใหญ่มีสาเหตุจากการติดเชื้อไวรัส HPV (Human Papilloma Virus) ซึ่งติดต่อได้ทางเพศสัมพันธ์และการสัมผัส มักพบเชื้อได้ที่บริเวณอวัยวะสืบพันธุ์ภายนอก
ของผู้หญิงบริเวณปากมดลูกและช่องคลอด

การตรวจคัดกรองหาเชื้อไวรัสเอสพีวีด้วยเทคนิค HPV DNA Testing เป็นการตรวจที่มีความแม่นยำสูงลงลึกระดับ DNA ที่ครอบคลุมมากกว่า 18 สายพันธุ์ความเสี่ยงสูงในการก่อมะเร็งปากมดลูก โดยสายพันธุ์ 16 และ 18 เป็นสาเหตุสำคัญของมะเร็งปากมดลูก

ผู้หญิงควรตรวจตั้งแต่อายุ 30-60 ปี และควรตรวจซ้ำทุกๆ 5 ปี

**อ้างอิงจาก National cancer institute Guideline

BRCA 1/2

BRCA 1/2 คืออะไร?

BRCA1 และ BRCA2 เป็นยีนของมนุษย์ เป็นกลุ่มยีนที่ทำหน้าที่ควบคุมการเจริญของเซลล์ (tumor suppressor gene) ในเซลล์ปกติ BRCA1 และ BRCA2              ช่วยดำรงเสถียรภาพของสารพันธุกรรม และป้องกันการเจริญเติบโตที่ผิดปกติของเซลล์
ซึ่งการกลายพันธ์ของยีน BRCA1/2 เกี่ยวข้องกับการเกิดกลุ่มโรคมะเร็งเต้านมและมะเร็งรังไข่ ที่สามารถถ่ายทอดทางพันธุกรรมในครอบครัวได้

ใครตรวจตรวจยีน BRCA 1/2?

  • ในประชากรปกติ มีโอกาสที่จะเกิดเป็นโรคมะเร็งเต้านมประมาณ 12%
  • ในกลุ่มที่มีความผิดปกติของยีน BRCA1/2 จะมีโอกาสเป็นมะเร็งเต้านมถึง 60% ซึ่งมีความเสี่ยงสูงกว่าประชากรปกติถึง 5 เท่า
  • ดังนั้นในสุภาพสตรีทุกคนควรทราบถึงการกลายพันธุ์ของยีน BRCA1/2 เพื่อเตรียมความพร้อมลดเสี่ยงการเป็นโรคมะเร็งเต้านมในอนาคต
**อ้างอิงจากสาขารังสีรักษาและมะเร็งวิทยา โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์

สามขั้นตอนง่าย ๆ ในการส่งตรวจ

เก็บ

เก็บสิ่งส่งตรวจ (Self swab)
และกรอกใบส่งตรวจด้วยตนเอง
หรือติดต่อคลินิกเพื่อทำการเก็บตัวอย่าง

ส่งตรวจ

แจ้ง เอสพีแล็บ คลินิกเทคนิคการแพทย์
แจ้งผ่าน splab2022@gmail.com
หรือติดต่อ 02-1013246
เพื่อนัดหมายการรับตัวอย่าง

เช็กผลตรวจ

หลังจากห้องปฏิบัติการได้รับตัวอย่าง
สามารถรับผลฉบับจริงผ่านทางเจ้าหน้าที่รับ-ส่งสิ่ง
ส่งตรวจ หรือเช็คผลตรวจออนไลน์
ภายใน 5 วันทำการได้ที่ www.splab2023.com